Popular Post

Popular Posts

วันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560


มด  เป็นสัตว์ในวงศ์ Formicidae ระดับ Hymenoptera มีจำนวนชนิดมากกว่า 12,000 ชนิด โดยพบมากในเขตร้อนของโลก มดมีการสร้างรังเป็นอาณาจักรขนาดใหญ่ บางรังมีจำนวนประชากรมากถึงล้านตัว มีการแบ่งวรรณะกันทำหน้าที่คือ วรรณะมดงาน เป็นมดเพศเมียเป็นหมัน ทำหน้าที่หาอาหาร สร้างและซ่อมแซมรัง ปกป้องรังจากศัตรู ดูแลตัวอ่อน และงานอื่นๆ ทั่วไป เป็นวรรณะที่พบได้มากที่สุด วรรณะสืบพันธุ์ เป็นมดเพศผู้ และราชินี เพศเมีย มีหน้าที่สืบพันธุ์ เนื่องจากมดเป็นสัตว์ในวงศ์ Formicidaeจึงสามารถผลิตกรดมดหรือกรดฟอร์มิกได้เป็นลักษะเฉพาะของสัตว์ในวงศ์นี้


1.1  วงจรชีวิต 
มดเป็นแมลงที่มีการเจริญเติบโตแบบสมบูรณ์ ในวงจรชีวิตของมดประกอบด้วย ไข่ ตัวอ่อน ดักแด้ ตัวโตฏตเต็มวัย


1.2  ลักษณะที่สำคัญ 
มดมีลักษณะเหมือนกับแมลงกลุ่มอื่น ๆ  คือสามารถแบ่งลำตัวออกได้เป็น  3  ส่วน  ได้แก่  ส่วนหัว  ส่วนอก  และส่วนท้อง  แต่ละส่วนจะมีอวัยวะหรือลักษณะที่สำคัญต่าง ๆ  ปรากฎอยู่ลักษณะเหล่านี้จะแตกต่างกันไปในมดแต่ละกลุ่ม  ลักษณะของมดแตกต่งจากแมลงชนิดอื่น  คือ  จะมีหนวดหักแบบข้อศอก  (geniculate)  แบ่งออกเป็นส่วน  scape  และ  funicle  ในเพศเมียจำนวนปล้องหนวดจะมี  4-12  ปล้อง  ส่วนเพศผู้มี  9  ปล้อง  ปากเป็นแบบกัดกิน  มีฟันเรียกว่า  mandible  ท้องปล้องที่ 1  จะรวมกับอกปล้องที่ 3  เรียกว่า  propodeum  ท้องปล้องที่ 2  หรือ 3  มีลักษณะเป็นก้านเรียกว่า  abdomen pedicel  ซึ่งอาจจะมีปุ่มหรือไม่มีก็ได้  ส่วนท้องปล้องที่เหลือรวมเรียกว่า  gaster  มดเพศเมียบางชนิดจะมีเหล็กในยื่นออกมาให้เห็นจากปลายของส่วนท้อง  มดจะมีตารวมขนากใหญ่ 1 คู่  (compound eye)  บางชนิดมีตาเดี่ยว  (ocelli)  โดยทั่วไปจะมี 3 ตาอยู่เหนือระหว่างตารวม  ตาเดี่ยวจะไม่ได้ทำหน้าที่ในการรับภาพ
เนื่องจากมดเป็นแมลงสังคม  สมาชิกที่อยู่ในรังจะมีการแบ่งชั้นวรรณะแยกออกให้เห็นชัดเจน  ประกอบด้วย 

1.2.1  มดแม่รัง  ลักษณะทั่วไป  คือ  มีขนาดใหญ่กว่ามดตัวอื่น ๆ  ที่อยู่ในรัง  มีปีกอกหนา  ท้องใหญ่  และมักมีตาเดี่ยว  สามารถสืบพันธุ์ได้  ทำหน้าที่ในการวางไข่และสร้างรัง 



1.2.2  มดเพศผู้  โดยทั่วไปจะมีปีก  ส่วนอกหนาแต่ไม่เท่าของมดแม่รัง  มีหน้าที่ผสมพันธุ์  จะพบเป็นจำนวนน้อยกว่ามดงานในแต่ละรัง


1.2.3  มดงาน  เป็นมดเพศเมียที่เป็นหมัน  ไม่มีปีก  ไม่มีตาเดี่ยว  เป็นมดที่ออกหาอาหาร  จะพบอยู่เสมอภายนอกรัง  นอกจากหาอาหารแล้วมดงานยังมีหน้าที่ในการสร้างรัง  รักษารัง  ดูแลตัวอ่อนและราชินีและป้องกันรังด้วย  มดงานบางชนิดสามารถแบ่งออกเป็น  มดงานที่มีรูปร่างแบบเดียว (monomorphic form)  มดงานที่มีรูปร่าง 2 รูปแบบ (dimorphic form : major worker; minor worker)  และมดงานที่มีรูปร่างหลายแบบ (polymorphic form)


1.3  พฤติกรรม 
มดเป็นแมลงที่มีวิวัฒนาการสูง  กำเนิดมาช้านาน  เมื่อศึกษาจาก  fossil  นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ามดมีกำเนิดเมื่อ  50  ล้านปีมาแล้ว  มดมีมากมายหลายชนิดแพร่กระจายอยู่ทั่วไปในเขตต่าง ๆ  ยกเว้นแถบขั้วโลก  มดมีพฤติกรรมที่น่าสนใจหลาย ๆ ด้าน  ได้แก่ 

1.3.1  พฤติกรรมการผสมพันธุ์และสร้างรัง  เมื่อมีประชากรภายในรังหนาแน่นมากและต้องการขยายรัง  สมาชิกในรังที่จะทำหน้าที่ผสมพันธุ์จะบินออกมาจากรังเดิมจับคู่กับมดจากรังอื่น  โดยมดงานจะขุดรูให้เป็นทางออกของแม่รังตัวใหม่  มดที่มีวิวัฒนาการสูงจะจับคู่และผสมพันธุ์บนที่สูง  เช่น  บนต้นไม้  ส่วนมดที่มีวิวัฒนาการต่ำจะผสมพันธุ์บนพื้นดิน  หลังจากนั้นราชินีจะหาพื้นที่ที่เหมาะสมในการสร้างรังซึ่งจะแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ชนิดของมดแล้วเริ่มต้นสร้างรังใหม่  เมื่อพบพื้นที่ที่เหมาะสมแล้วราชินีจะสลัดปีกออกและวางไข่  การวางไข่ครั้งแรกจะเป็นกลุ่มเล็ก ๆ  โดยมดรุ่นแรกจะเป็นมดงาน  แม่รังจะทำหน้าที่หาอาหารมาเลี้ยงดูตัวอ่อนชุดแรกเองโดยการให้กินไข่ที่ไม่ได้รับการผสมพันธุ์  จนมดรุ่นแรก ๆ  นี้เจริญเติบโตเป็นมดงานทำหน้าที่ออกหาอาหาร  เมื่อมีมดงานตัวเต็มวัยมากขึ้น  ราชินี่จะทำหน้าที่วางไข่  และควบคุมพฤติกรรมภายในรังเพียงอย่างเดียว  ทั้งนี้ฤดูกาลและสภาพอากาศ  ซึ่งได้แก่  อุณหภูมิ  ความชื้น  มีอิทธิพลต่อการผสมพันธุ์  และเมื่อภายในรังมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น  ราชินีจะมีการผลิตมดเพศผู้และเพศเมียทำหน้าที่ผสมในรุ่นต่อไป 



1.3.2  พฤติกรรมการหาอาหาร  มดออกหาอาหารได้ทั้งกลางวันและกลางคืนและกินอาหารได้หลากหลาย  สามารถเป็นได้ทั้งตัวห้ำ (predator)  หรือเป็นพวกกินซาก (scavenger)  และจะกินได้ทั้งเมล็ดพืชหรือดูดกินอาหารที่เป็นของเหลว  มดงานบางชนิดสามารถเก็บอาหารที่เป็นของเหลวไว้ในกระเพาะจนเต็ม  แล้วนำกลับไปแจกจ่ายให้กับสมาชิกตัวอื่นในรังได้  โดยใช้วีสำรอกออกมาในเวลาไม่เกิน 20 ชั่วโมง



1.3.3  พฤติกรรมการติดต่อสื่อสาร  มดมีการติดต่อสื่อสารโดยปล่อยสารที่เรียกว่า  ฟีโรโมน (pheromone)  ที่มดตัวอื่นจะรับการติดต่อได้โดยอาศัยหนวดและขาคู่หน้า  ฟีโรโมน  มีหลายชนิด  เช่น

1.3.3.1  ฟีโรโมนนำทาง  (trail pheromone)  โดยมดจะปล่อยไว้ตามทางที่มันเดินผ่านไปเพื่อให้สมาชิกตามไปยังแหล่งอาหารได้ถูกต้องและเมื่อพบอาหารมาก ๆ  มดจะช่วยกันปล่อยฟีโรโมนทำให้มีมดเป็นจำนวนมากกรูมาที่อาหารอย่างรวดเร็ว

1.3.3.2  ฟีโรโมนเตือนภัย  (Alarm pheromone)  พบว่าเมื่อปล่อยออกมาเป็นจำนวนน้อย ๆ  จะใช้สื่อสารด้านการเตือนภัย  แต่ถ้าปล่อยออกมาในปริมาณมาก ๆ  จะสามารถควบคุมพฤติกรรมบางอย่างได้ด้วย  เช่น  ให้เข้าโจมตีศัตรู  ขุดรู  และสารนี้จะไม่จำเพาะเจาะจงกับชนิดของมดเหมือนกับฟีโรโมนนำทาง

1.3.3.3  ฟีโรโมนอื่น ๆ  มดจะปล่อยออกมาในเหตุการณ์ต่าง ๆ  เช่น  มดตัวอ่อนสามารถปล่อยฟีโรโมนกระตุ้นให้มดงานป้อนอาหารให้เมื่อมันรู้สึกหิว  หรือฟีโรโมนที่แม่รังปล่อยออกมาเพื่อควบคุมประชากรภายในรัง 

1.3.4  พฤติกรรมการใช้เสียง  มีรายงานว่ามดสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยใช้เสียงเพื่อเป็นการเตือนภัย  เรียกสมาชิกให้มาอยู่รวมกันเมื่อพบศัตรู  หรือเรียกเพื่อน ๆ  มาช่วยเมื่อมีอันตราย



{ 1 ความคิดเห็น... read them below or add one }

  1. LuckyClub: Play with a €1000+ bonus - Lucky Club
    LuckyClub casino sites offer a welcome bonus for new players with generous welcome offers. You can get luckyclub a free bonus to start playing at Lucky Club with

    ตอบลบ

- Copyright © OPPA.com - Devil Survivor 2 - Powered by Blogger - Designed by Johanes Djogan -